Speaking Thai with kruu Kate PÛUD THAI GÀB KRUU KATE – book 1– chapter 4 – Thai Numbers (and how much , How many)
Tones chart ตารางการผันวรรณยุกต์
test 1
ทำอย่างไรจึงจะได้เกรด A1 ในวิชา Thai mother tongue (3260/01 THAI GCE ORDINARY LEVEL EXAMINATION)
ทำอย่างไรจึงจะได้เกรด A1 ในวิชา Thai mother tongue
(3260/01 THAI GCE ORDINARY LEVEL EXAMINATION)
ก่อนอื่น ครูเคทขอแสดงความยินดีกับลูกศิษย์ของครูที่ได้เกรด A1 และ A2 ในวิชานี้ทุกคนค่ะ ครูเห็นความขยัน มานะ อดทนและพยายามในตัวพวกคุณตลอดเวลาที่พวกคุณเรียนกับครู ครูภูมิใจและชืนชมในตัวพวกคุณทุกคนค่ะ
วันนี้ครูอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ว่า
ทำไมนักเรียนหลายคนจึงพลาด เกรด A1 ในวิชา Thai mother tongue (3260/01 THAI GCE ORDINARY LEVEL EXAMINATION)
ก่อนอื่นขอให้นักเรียนทราบก่อนว่า ในการสอบของทุก ๆ ปี นักเรียนจะมีเวลาทั้งหมดในการทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ข้อสอบมีทั้งหมด 3 section คือ
Section A – Composition (50 marks)
นักเรียนต้องเลือกทำเพียง 2 หัวข้อ จากทั้งหมด 5 หัวข้อ ส่วนนี้มีคะแนนทั้งหมด 50 คะแนน หมายความว่า มีคะแนนหัวข้อละ 25 คะแนน (2 x 25 = 50 ) ซึ่งข้อสอบจะกำหนดให้นักเรียนเขียน Composition ประมาณ 150 คำ ต่อ 1 หัวข้อ
หัวข้อที่ให้เลือกจะมีดังนี้คือ
•express an opinion
•communicate by letter
•narrate a story or series of events
•describe a scene or occasion
•compose or report a dialogue.
ใน section A นักเรียนหลาย ๆ คนมักจะผิดพลาดในเรื่อง
1 การเขียน essays สั้นเกินไป ทำให้ไม่สามารถประเมินทักษะของนักเรียนในการเขียนภาษาไทยได้ดีเท่าที่ควร
There were those who wrote a very short essays which result in not showing off their ability to write Thai .Therefore it is affecting the marks awarded.
2 นักเรียนส่วนใหญ่เขียน essays ด้วยความยาวในการเขียนที่เหมาะสมดีมาก แต่นักเรียนบางคนเขียน essays ยาวจนเกินไป ทำให้นักเรียนใช้เวลาส่วนมากไปในการทำข้อสอบใน Section A มากเกินไป นักเรียนจึงมีเวลาเหลือในการทำข้อสอบใน section B และ C น้อยลง อีกทั้งทำให้ไม่มีเวลาเหลือพอสำหรับการตรวจทานให้รอบคอบอีกครั้งก่อนที่จะส่งงาน
Most students kept essays to a resonably length . However some wrote very long essays .It could be the case that students spent most of the time allowed in the examination on this section and this might have affected their ability and time to answer other section and double check their spelling or some simple mistakes or improve the writing considerably before submitting the paper.
3 ปัญหาหลักคือการสะกดคำผิด ทำให้เสียคะแนน ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะนักเรียนบางคนเขียนเนื้อเรื่องได้ดีมาก มีจินตนาการได้ยอดเยี่ยม หลักภาษาไทยก็ถูกต้อง ซึ่งควรจะได้คะแนนดี แต่การสะกดคำผิดจึงทำให้เสียคะแนนไป
Spelling is still problematic for large number of students. Many students losing marks on this .As many studens came up with well-written essays , imaginative and grammatically correct and they should gained most of their marks but mistake came from misspelling.
4. ในการเขียน essays นักเรียนควรจะเขียนด้วย style การเขียนแบบเดียวกันตลอดในหัวข้อเดียวกัน
It is an advice to keep to one style of writing throughout.
5. นักเรียนต้องหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์แปลก ๆ คำแสลง ศัพท์วัยรุ่นหรือศัพท์ที่ไม่เป็นทางการ (very informal vocabulary)
เช่น เฮ้ ฝุด ๆ อะไร (วะ) อย่าเผือก
Students are advised to avoid using very informal vocabulary which is not widely accepted.
6. น่าประหลาดใจที่นักเรียนหลายคนไม่ได้อ่านคำถามในหัวข้ออย่างระมัดระวัง น่าเสียดายที่ นักเรียนบางคนเขียน essays ดีมากแต่ไม่ได้ตอบคำถามในหัวข้อนั้นเลย จึงทำให้นักเรียนเสียคะแนนส่วนนี้ไป
There was surprising number who did not read the questions properly . Unfortunately , some wrote very good essays but did not answer the question on the topics selected and hence lost a chance to gain marks.
คำแนะนำ
1. ก่อนที่นักเรียนจะลงมือเขียน essays ลงในกระดาษคำตอบ ครูอยากจะแนะนำให้นักเรียนคิดโครงเรื่องคร่าว ๆ ไว้ก่อน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเขียนซ้ำ ๆ การเขียนวกวน หรือ เขียนออกนอกประเด็น
Creating a draft carefully beforehand would help students structure essays and avoid repetition or digression and dwelling too much on any detail.
2. ก่อนที่นักเรียนจะส่งกระดาษคำตอบ นักเรียนควรจะตรวจดูความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
- ตรวจทานดูการสะกดคำให้ถูกต้อง
- ตรวจดูเนื้อหาที่เขียน ให้ถูกต้องตามประเด็นหัวข้อที่นักเรียนเลือก
- นักเรียนต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
Before submitting the paper students are advised to double check the answer to remove spelling mistakes and students should likewise check your essays are relevant to your chosen topic. Especially candidates should apply Thai grammatical rules.
Section B – Translation (30 marks)
Section นี้มี 2 ข้อ และนักเรียนจะต้องทำทั้ง 2 ข้อ คือ
- แปลบทความจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ (10 คะแนน)
- แปลบทความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (20 คะแนน)
Students will be required to:
•translate a passage from Thai into English (10 marks)
•translate a passage from English into Thai (20 marks).
ครูเคทอยากจะเล่าจากประสบการณ์ที่สอนนักเรียนไทยที่มาเรียนที่สิงคโปร์ เพื่อเตรียมตัวสอบ GCE o Level – Thai mother tongue
มาหลายปี
นักเรียนทุกคนที่เพิ่งมาเริ่มเรียนคลาสของครู จะคิดว่า section B ง่ายที่สุด สามารถทำคะแนนได้สบาย ๆ แต่จริง ๆ แล้ว ครูอยากจะบอกว่าส่วนนี้เป็นส่วนทำให้นักเรียนเสียคะแนนมากที่สุดในข้อสอบทั้งหมด ซึ่งนักเรียนมักจะประมาท และขาดการฝึกฝน
เรามาดูกันว่า ทำไมนักเรียนส่วนใหญ่จึงพลาดคะแนนดี ๆ จากsection B
นักเรียนบางคนไม่แม่นในภาษา และมักจะใช้วิธีการแปลแบบคำต่อคำ ซึ่งทำให้บทความที่นักเรียนแปลออกมาแล้วเป็นภาษาที่ไม่สละสวย และบ่อยครั้งที่ทำให้ความหมายของเนื้อเรื่องเปลี่ยนไปจากต้นฉบับโดยสิ้นเชิง หรือบางครั้งอาจจะทำให้การแปลนั้น อ่านแล้วไม่ได้ใจความ โดยเฉพาะส่วนที่ยากที่สุดคือ การแปลจากบทความภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย
นักเรียนบางคนพยายามที่จะแปลโดยการสรุปบทความที่อ่านและเพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในการแปล ซึ่งเป็นการผิดพลาดอย่างมาก
นักเรียนต้องแปลตามบริบทหลักและเก็บรายละเอียดในบทความ
นักเรียนต้องอ่านบทความที่แปลเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่นักเรียนแปลนั้น ทำได้อย่างสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ แปลความหมายได้ตรงกับบทความต้นฉบับและสามารถอ่านเข้าใจได้ดี
I would like to share my experience about teaching Thai students who study in Singapore to prepare for their GCE O level Thai paper for many years.
Many new students who just started to attend my class always think that Section B is the easiest section. Which could help them to gain an easy scores. However, the irony is that students tend to lose most scores in this Section. Also students often overlook the careless mistake that could occurs.
Let’s see why many students tend to lose marks in this Section.
Some students were not accurate .They translated word by word . As a result , it causes students to render the meaning into fluent Thai .Often it result in changes the meaning of the original passage or sometime may causes the translation making no sense or read well at all. Especially the most challenging part is translation a passage from English into Thai
Some students tend to summarise the passage and add personal comment into their translation. This is a completely wrong.
Students must follow the main points and details in the passages closely.
Students must read your translation after you have done the translation to check the translated version is complete, correct grammatically , faithful to the original and fully comprehensible.
Section C – Reading Comprehension (20 marks)
Section นี้ มีบทความเป็นภาษาไทย และให้นักเรียนตอบคำถาม เพื่อจะทดสอบความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับบทความนั้น ๆ ซึ่งบทความอาจจะมาจากนวนิยาย สารคดี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือหนังสืออื่นๆ
คำตอบต้องเขียนเป็นภาษาไทย
One passage in Thai will be set with questions to test the candidates’ general understanding of the gist of the passage as well as their understanding of specific information given. The passage may be drawn from fiction, non-fiction, newspapers, magazines, etc. Answers are to be written in Thai.
ครูเคทอยากจะบอกว่า นักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลากับ section C มากที่สุด ถ้านักเรียนบางคนที่เคยเรียนกับครูยังจำได้ พวกคุณใช้เวลาในการฝึกทำ section C บางครั้งมากกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งถ้าในการสอบจริง ๆ พวกคุณไม่ได้มีเวลามากมายขนาดนั้น จำไว้ว่าพวกคุณมีเวลาทั้งหมดในการทำข้อสอบเพียง 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องแบ่งเวลาให้กับข้อสอบในส่วน section A และ section B ด้วย
นักเรียนหลาย ๆ คน บ่นว่าทำไมข้อสอบวิชาภาษาไทยที่สิงคโปร์ ยากกว่าข้อสอบภาษาไทยที่บ้านเราเสียอีก นั่นซิค่ะ ! แต่ไม่เป็นไรนะค่ะ พวกคุณเลือกวิชาภาษาไทยเป็นวิชา Mother tongue แล้วก็พยายามกันต่อไปค่ะ ครูเอาใจช่วย
ข้อสอบส่วนนี้ จริง ๆ แล้ว ถ้านักเรียนมีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี การตอบคำถามก็ไม่ยากจนเกินไปและคำตอบอยู่ตรงหน้าแล้ว อยู่ในบทความ บางครั้งคนออกข้อสอบใจดี ให้คำตอบมาตรง ๆ เลย แต่ถ้าพวกคุณลอกคำตอบจากบทความมาตอบตรง ๆ จะ “ไม่ได้คะแนน” ค่ะ มาดูหลักการทำข้อสอบส่วนนี้กันค่ะ
แนะนำให้นักเรียนอ่านคำสั่งอย่างระมัดระวัง ในคำสั่งบอกว่าให้นักเรียนตอบเป็นภาษาไทยเท่านั้น นักเรียนบางคนไม่อ่านคำสั่งให้ดี ๆ และตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งถึงแม้ว่านักเรียนจะตอบถูกแต่นักเรียนจะไม่ได้คะแนนเลย
I want to tell you that students mostly spend most of their time in section C. For some student that ever been taught by me would recall that sometime you can take up to more than 2 hours to practice doing this Section. Which in actual exam students don’t have as much time as that. So keep in mind that you only have total of 3 hours in the whole examination. You also have other section to attempt as well.
Many students complaint that “Why examination in Singapore is even harder than in Thailand?” Actually I also do not have the answer to that question. But that is alright as you already have chosen this subject to be your mother tongue subject .Please keep on trying and I will help you along.
In this part of the exam it is actually not too difficult for those who know Thai language very well as the answer is already being shown to you in the passage. Some examiner are kind and give you the answer directly in the passage. However, if you lift the answer you will not score any marks for doing that. Let’s take a look at the grading system.
Student must read and follow the instruction carefully. They have been asked to answer in Thai. Some student failed to do so and answered the question in English. Even though students would be answered correctly but will not score at all.
คำตอบอย่างไรจึงจะได้คะแนนสูงนั้น คำตอบของนักเรียนจะต้องอ้างอิงจากข้อมูลที่ให้มาในบทความอย่างชัดเจน แต่นักเรียนต้องเขียนด้วยคำและประโยคของตัวเอง ซึ่งถ้านักเรียนสามารถแต่งประโยคได้ดีจะช่วยเพิ่มคะแนนได้
Answers which will score highly are those which refer clearly to the passage and which are rephrased. A good style of writing is very helpful.
ขอย้ำอีกครั้งว่า การเขียนห้ามลอกเอาคำตอบโดยตรงจากบทความ เพราะการลอกบทความลงมาใส่ในคำตอบ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในบทความ คำถามและทักษะ ความสามารถในการใช้ภาษาไทยที่ดีของนักเรียน ซึ่งบ่อยครั้งที่นักเรียนไม่แม่นในภาษาไทย จึงทำให้อ่านบทความได้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ นักเรียนจึงใช้วิธีลอกบทความที่คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบ ทำให้นักเรียนไม่ได้คะแนน
Again do not copy the text for your answers, as this does not sufficiently reflect your comprehension of the texts. Questions and ability to use an appropriate Thai language of students. Often students are not accurate in using Thai language. This result in students not able to clearly understand the text. Student tend to copy from the text which they think it is the answer. As a result they will not score any marks.
ใน section C นักเรียนต้องหลีกเลี่ยงการเขียนความเห็นส่วนตัวลงไปในคำตอบ
นักเรียนบางคนเขียนเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ที่ไม่ได้มีอยู่ในข้อความ ลงไปในคำตอบ ซึ่งจะทำให้ไม่ได้คะแนนเช่นกัน
For section C student must not add your own comments in the answers
Some students add new information from what is already available in the given text. This will not score you any marks.
คำตอบจะต้องสมบูรณ์และเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน บางคำถาม ถามเพื่อให้นักเรียนอธิบาย และบางทีให้นักเรียนยกตัวอย่าง บางทีข้อมูลอาจจะไม่ได้มาจากย่อหน้าเดียว นักเรียนจะต้องอ่านอย่างระมัดระวัง
The answers must be complete and contain all relevant information. Some questions asked for explanation and some for examples. Sometime the answers did not come from one part of the passage only. You have to read carefully.
นักเรียนต้องหลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีความหมายซับซ้อน คำที่สละสวยจนเกินไป ซึ่งนักเรียนไม่แน่ใจในการสะกด
Students must avoid elaborate and fanciful words that they are not sure of the spelling.
râang-gaai sòun năi săm-kan tîi-sùd (dton tîi 2 a-wai-ya-wa paai-nôrk) ร่างกายส่วนไหนสำคัญที่สุด (อวัยวะภายนอก)
Khun kíd wâa râang-gaai sòun năi săm-kan tîi-sùd ? long kíd lên lên (kíd sà-nùk sà-nùk)
Thâr rao hĭew kao dtàe mâi mii khăa dern oòg bpai hăa aa-hăan mâi mii khăen eârm bpai tîi aa-hăan mâi mii muu yìb aa-hăan mâi mii dtaa morng hăa aa-hăan mâi mii jà-mùuk dom glìn aa-hăan mâi mii pàrk gin aa-hăan mâi mii lín rúb-rót aa-hăan mâi mii fun kíew aa-hăan mâi mii kor gleun aa-hăan káe-níi gôr yâe láew
láew Thâr rao khàd a-wai-ya-wa dai a-wai-ya-wa nùng láew rao jà tam git-jà-gam nai che-wit dâi yang-ngai
hěn mái wâa a-wai-ya-wa túg sòun gôr săm-kan mái nói bpai kwàa gun rák-să mun hâi dii ka
คุณคิดว่าร่างกายส่วนไหนสำคัญที่สุด ลองคิดเล่น ๆ (คิดสนุก ๆ )
ถ้าเราหิวข้าว แต่ไม่มีขาเดินออกไปหาอาหาร ไม่มีแขนเอื้อมไปที่อาหาร ไม่มีมือหยิบอาหาร ไม่มีตามองหาอาหาร ไม่มีจมูกดมกลิ่นอาหาร ไม่มีปากกินอาหาร ไม่มีลิ้นรับรสอาหาร ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ไม่มีคอกลืนอาหาร แค่นี้ก็แย่แล้ว
แล้วถ้าเราขาดอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แล้วเราจะทำกิจกรรมต่างๆในชีวิต ได้ยังไง
เห็นไหมว่า อวัยวะทุกส่วน ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน รักษามันให้ดีค่ะ
paai-nôrk | ภายนอก | xternal |
khăa | ขา | leg |
khăen | แขน | arm |
eârm | เอื้อม | reach with the arm |
muu | มือ | hand |
dtaa | ตา | eyes |
morng | มอง | look , watch |
morng hăa | มองหา | look for |
jà-mùuk | จมูก | nose |
dom glìn | ดมกลิ่น | smell , sniff |
pàrk | ปาก | mouth |
lín | ลิ้น | tongue |
rúb-rót | รับรส | taste |
fun | ฟัน | tooth |
kíew | เคี้ยว | chew |
kor | คอ | neck , throat |
gleun | กลืน | swallow |
yâe | แย่ | badly, |
khàd | ขาด | lack of |
git-jà-gam | กิจกรรม | activity |
che-wit | ชีวิต | life |
săm-kan | สำคัญ | important |
râang-gaai sòun năi bpen naai-yài (dton tîi 1 a-wai-ya-wa paai-nai) ร่างกายส่วนไหนเป็นนายใหญ่ (อวัยวะภายใน)
wan nùng a-wai-ya-wa dtàng dtàng khŏng naai Thian Sze gôr rêam tĭang gun
“sa-mŏrng” bòrk wâa “chăn bpen naai-yài tîi-sùd práw thâr sa-mŏrng mâi tum-ngan kon gôr jà kíd a-rai mâi-dâi tam a-rai mâi-dâi”
“hŭa-jai” bòrk wâa “ pìd láew , chăn aeng bpen naai-yài khŏng râang-gaai práw thâr hŭa-jai mâi tum-ngan kon gôr jà dtaai práw khàrd lêud láe oxygen”
“ra-bòb prà-sàrt” bòrk wâa “mâi jing !! thâr ra-bòb prà-sàrt mâi tum-ngan râang-gaai gôr jà mâi mii kwaam rúu-sùk hĭew , năow , równ , jèb nai- tîi-sùd gôr jà dtaai”
“dtùb” tĭang wâa “krai bòrk !! chăn bpen rong-ngan yài tîi tum-ngan mâak maai hâi râang-gaai thâr chăn mâi tum-ngan kon dtông dtaai nâe nâe
táng sa-mŏrng , hŭa-jai , ra-bòb prà-sàrt , dtùb kíd wâa dtua-aeng săm-kan tîi-sùd jung yùd tum-ngan pêua duu wâa krai jà bpen naai-yài tîi-sùd
nai-tîi-sùd naai Thian Sze gôr dtaai práw a-wai-ya-wa khàeng gun bpen naai-yài
ร่างกายส่วนไหนเป็นนายใหญ่ (ตอนที่ 1 อวัยวะภายใน)
วันหนึ่งอวัยวะต่างๆ ของนายเทียน ซี ก็เริ่มเถียงกัน
“สมอง” บอกว่า “ฉันคือนายใหญ่ที่สุด เพราะถ้าสมองไม่ทำงาน คนก็จะคิดอะไรไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้”
“หัวใจ” บอกว่า “ผิดแล้ว ฉันเองเป็นนายใหญ่ของร่างกาย เพราะถ้าหัวใจไม่ทำงาน คนก็จะตายเพราะขาดเลือดและอ๊อกซิเจน”
“ระบบประสาท” บอกว่า “ไม่จริง!! ถ้าระบบประสาทไม่ทำงาน ร่างกายก็จะไม่มีความรู้สึก หิว หนาว ร้อน เจ็บ ในที่สุดก็จะตาย”
“ตับ” เถียงว่า “ใครบอก!! ฉันเป็นโรงงานใหญ่ที่ทำงานมากมายให้ร่างกาย ถ้าฉันไม่ทำงาน คนต้องตายแน่ ๆ
ทั้ง สมอง หัวใจ ระบบประสาทและตับ คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด จึงหยุดทำงาน เพื่อดูว่าใครจะเป็นนายใหญ่ที่สุด
ในที่สุดนายเทียน ซี ก็ตาย เพราะอวัยวะต่างๆ แข่งกันเป็นนายใหญ่
râang-gaai | ร่างกาย | body |
sòun | ส่วน | part |
naai-yài | นายใหญ่ | big boss |
dton tîi 1 | ตอนที่ 1 | Part 1 |
a-wai-ya-wa | อวัยวะ | organs |
paai-nai | ภายใน | internal |
rêam | เริ่ม | start |
tĭang gun | เถียงกัน | argue |
sa-mŏrng | สมอง | brain |
hŭa-jai | หัวใจ | heart |
ra-bòb prà-sàrt | ระบบประสาท | nervous system |
dtùb | ตับ | liver |
lêud | เลือด | blood |
kíd | คิด | think |
pìd | ผิด | wrong |
kwaam rúu-sùk | ความรู้สึก | feeling |
hĭew | หิว | hungry |
năow | หนาว | be cold |
równ | ร้อน | be hot |
jèb | เจ็บ | hurt, ache, be sore, feel painful |
dtaai | ตาย | die |
rong-ngan | โรงงาน | factory |
dtua-aeng | ตัวเอง | one self |
săm-kan tîi-sùd | สำคัญที่สุด | the most important |
khàeng gun | แข่งกัน | competitive |
garn hâi kue kwaam-sùk การให้คือความสุข
lung khŏng chăn mâi koei sŏrn wâa dtông bàeng-pan hâi kon-eùn
chăn hěn pêuan-bâan maa-hăa lung bòi bòi pôuk-kăo maa práw dtông-gaan khwam-chôui-lěua túg-kráng lung jà chôui pôuk-kăo lung jà bàeng-pan khŏng-gin khŏng- chai hâi kon-eùn sà-mŏe
lung rák chăn láe duu-lae chăn dii-mâak máe-wâa chăn mâi châi lûug khŏng lung lung mâi dtông sŏrn chăn dôui kum-pûud dtàe lung sŏrn chăn dôui garn-gra-tam lung tam dii sà-mŏe tŭg-kon jeung rák lung mâak
ลุงของฉันไม่เคยสอนว่า ต้องแบ่งปันให้คนอื่น ต้องรักคนอื่น ต้องช่วยเหลือคนอื่น
ฉันเห็นเพื่อนบ้านมาหาลุงบ่อย ๆ พวกเขามาเพราะต้องการความช่วยเหลือ ทุกครั้งลุงจะช่วยพวกเขา ลุงแบ่งปันของกิน ของใช้ให้คนอื่นเสมอ
ลุงรักฉันและดูแลฉันดีมาก แม้ว่าฉันไม่ใช่ลูกของลุง ลุงไม่ต้องสอนฉันด้วยคำพูด แต่ลุงสอนฉันด้วยการกระทำ ลุงทำดีเสมอ ทุกคนจึงรักลุงมาก
garn hâi | การให้ | giving |
sŏrn | สอน | teach |
bàeng-pan | แบ่งปัน | share |
kon-eùn | คนอื่น | others |
pêuan-bâan | เพื่อนบ้าน | neighbor |
maa-hăa | มาหา | come to meet, visit |
bòi bòi | บ่อย ๆ | often |
práw | เพราะ | because |
dtông-gaan | ต้องการ | want |
khwam-chôui-lěua | ความช่วยเหลือ | helping |
túg-kráng | ทุกครั้ง | every time |
pôuk-kăo | พวกเขา | they , them |
khŏng-gin khŏng- chai | ของกินของใช้ | consumer product |
kum-pûud | คำพูด | words |
garn-gra-tam | การกระทำ | action |
kong jà yùu dâi mâi naan คงอยู่ได้ไม่นาน
tîi clinic glâi glâi Somerset wan-níi clinic mii kon-khâi yé maak maak dtông ror Q naan maak maak kon-khâi bang kon ror 3 chûa-mong bang kon ror 4 chûa-mong
lung William maa tîi clinic dtâng-dtàe 5 mong yen dton-níi glâi jà 2 tóom láew pêung jà dâi pob mŏr
lung William : khun mŏr krub phŏm bpòud-hŭa bpòud-tórng bpòud-lăng jèb-kor láe ai dôui
khun mŏr : hâi mŏr check duu gòrn na krub
lung William : phŏm bpen arai krub
khun mŏr : mŏr sĭa-jai dôui na tîi dtông bòrk
lung wâa lung “kong jà yùu dâi mâi naan”
lung William : (shock mâak) phŏm gum-lang jà dtaai châi mái krub ? mêua-gíi khun mŏr bòrk wâa phŏm “kong jà yùu dâi mâi naan”
khun mŏr : mâi châi krub tîi mŏr bòrk wâa lung
“kong jà yùu dâi mâi naan” práw clinic bpìd 2
tóom láe dton-níi clinic gôr bpid lăew
ที่คลีนิคใกล้ ๆ somerset วันนี้คลีนิคมีคนไข้เยอะมาก ๆ ต้องรอคิวนานมาก ๆ คนไข้บางคนรอ 3 ชั่วโมง บางคนรอ 4 ชั่วโมง
ลุงวิลเลี่ยม มาที่คลีนิคตั้งแต่ 5 โมงเย็น ตอนนี้ใกล้จะ 2 ทุ่มแล้ว เพิ่งจะได้พบคุณหมอ
ลุงวิลเลี่ยม : คุณหมอครับ ผมปวดหัว ปวดท้อง ปวดหลัง เจ็บคอและไอด้วย
คุณหมอ : ให้หมอเช็คดูก่อนนะครับ
ลุงวิลเลี่ยม : ผมเป็นอะไรครับ
คุณหมอ : หมอเสียใจด้วยนะ ที่ต้องบอกลุงว่า ลุงคงจะอยู่ได้ไม่นาน พรุ่งนี้มาเช็คอีกที
ลุงวิลเลี่ยม : (ช๊อคมาก) ผมกำลังจะตายใช่ไหมครับ เมื่อกี๊คุณหมอบอกว่าผมคงอยู่ ได้ไม่นาน
คุณหมอ : ไม่ใช่ครับ ที่ผมบอกว่าลุงคงจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะคลีนิคปิด 2 ทุ่ม และตอนนี้คลีนิคก็ปิดแล้วครับ
kong jà | คงจะ | may be , might |
glâi glâi | ใกล้ ๆ | near to , closer |
kon-khâi | คนไข้ | patient |
yé maak maak | เยอะมาก ๆ | many |
ror naan | รอนาน | wait long |
chûa-mong | ชั่วโมง | hour |
dtâng-dtàe | ตั้งแต่ | since |
2 tóom | 2 ทุ่ม | 8 pm |
bpòud-hŭa | ปวดหัว | headache |
bpòud-tórng | ปวดท้อง | stomachache |
bpòud-lăng | ปวดหลัง | back pain |
jèb-kor | เจ็บคอ | sore throat |
ai | ไอ | cough |
gòrn | ก่อน | first ,before |
sĭa-jai | เสียใจ | sorry , regret |
dtaai | ตาย | die |
bpid | ปิด | close |
gin arai dii กินอะไรดี
“rêung gin” bang-tee gôr bpen pun-hăa chên………mâi rúu jà gin arai dii mâi rúu jà bpai gin tîi năi dii mâi rúu jà gin gùb krai dii mâi rúu jà gin gìi mong dii mâi rúu wâa ráan níi jà aroi mái mâi rúu wâa thâr gin paeng gern-bpai jà mii ngen jàai mái 55555 bpen pun-hăa láew châi mái ?
wan-níi chán gôr mii pun-hăa “rêung gin” wan-níi bpen wan-yòod khŏng chán chán choun lôog-chaai khŏng chán bpai gin kâow
payu : bpai gin arai dii krub ?
kruu Kate : láew dtàe lôog
payu : mâe yàak gin arai dii krub ?
kruu Kate : láew dtàe lôog
payu : bpai gin tîi năi dii krub ?
kruu Kate : láew dtàe lôog
payu : bpai gin gìi mong dii krub ?
kruu Kate : láew dtàe lôog
payu : OK mâe bpai gin kon-diew gôr láew gun
kruu Kate : oh !!!!!!!!
“เรื่องกิน” บางทีก็เป็นปัญหา เช่น ไม่รู้จะกินอะไรดี ไม่รู้จะไปกินที่ไหนดี ไม่รู้จะไปกินกับใครดี ไม่รู้จะไปกินกี่โมงดี ไม่รู้ว่าร้านนี้จะอร่อยไหม ไม่รู้ว่าถ้ากินแพงเกินไปจะมีเงินจ่ายไหม 55555 เป็นปัญหาแล้วใช่ไหม
วันนี้ฉันก็มีปัญหาเรื่องกิน วันนี้เป็นวันหยุดของฉัน ฉันชวนลูกชายของฉันไปกินข้าว
พายุ : ไปกินอะไรดีครับ
ครูเคท : แล้วแต่ลูก
พายุ : แม่ อยากกินอะไรดีครับ
ครูเคท : ไม่รู้ คิดไม่ออก
พายุ : ไปกินที่ไหนดีครับ
ครูเคท : แล้วแต่ลูก
พายุ : ไปกี่โมงดีครับ
ครูเคท : แล้วแต่ลูก
ลูกชาย : โอเค แม่ไปกินคนเดียวก็แล้วกัน
ครูเคท : อ้าว !!!!!!!!
rêung gin | เรื่องกิน | eating |
pun-hăa | ปัญหา | problem |
arai | อะไร | what |
tîi năi | ที่ไหน | where |
krai | ใคร | who |
gìi mong | กี่โมง | what time |
châi mái | ใช่ไหม | right ? |
paeng gern-bpai | แพงเกินไป | Too expensive |
jàai | จ่าย | pay |
wan-yòod | วันหยุด | holiday , day off |
choun | ชวน | persuade |
láew dtàe | แล้วแต่ | up to (you) |
kon-diew | คนเดียว | alone |